กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5610
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing factors influencing consumers' usage behavior of traditional medicines in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ ปีฐพล รัตนจินดา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศริศักดิ์ สุนทรไชย วิเชียร เลิศโภคานนท์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ยาแผนโบราณ พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัดถุประสงค์ 6 ประการเพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ (2) ศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอื่นๆ กับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ และ (6) วิเคราะห์ปัญหาของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้ยาแผนโบราณ การศึกษานี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริโภคที่ใช้ยาแผนโบราณในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคึอ ผู้บริโภคยาแผนโบราณในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉถี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร ทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาแผน โบราณในระดับมากคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการจัดจำหน่าย ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณ เรียงลำดับจากมากไป น้อยคือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านจิตวิทยา และด้านวัตถุประสงค์ของการใช้ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (6) ปัญหาของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้ยาแผนโบราณคือ ไม่มั่นใจสถานที่ผลิตยาและกระบวนการผลิต ราคาขายแต่ละร้านไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นยาชนิดเดียวกัน มีสินค้าให้เลือกซื้อน้อย และขาดเอกสารให้ความรู้แก่ผู้บริโภค |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5610 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108602.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License