กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5618
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Media exposure behavior of agricultural technology and innovation information through online social media of agricultural extensionist in the Eastern Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารยา สุขเกษม, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สื่อสังคมออนไลน์--การสื่อสาร--พฤติกรรม
เทคโนโลยีการเกษตร
ข่าวสาร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ 4) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ และความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตาแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 6 ปี รายได้ต่อเดือน 23,669.77 บาท 2) มีความถี่การเปิดรับข่าวสารและการติดต่อสื่อสารข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรในระดับมาก (5-6 ครั้งต่อสัปดาห์) มีการเปิดรับที่บ้านหรือที่พักอาศัยโดยใช้สมาร์ตโฟน ในช่วงเวลาระหว่าง 16.01 - 20.00 น. โดยมีเหตุผลเพื่อติดตามข่าวสารการเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร 3) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นความสะดวกของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ และประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ 4) จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและข้อมูลด้านเศรษฐกิจไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีปัญหาสื่อสังคมออนไลน์มีความเสี่ยง ของความไม่แท้จริง การหลอกลวง และความไม่โปร่งใสในการใช้งานในเฟซบุ๊ก และมีข้อเสนอแนะประเด็น เนื้อหาข่าวสารที่นาไปเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ควรมีการตรวจสอบก่อนส่งข่าวสาร และมีหลักฐานอ้างอิงตรวจสอบได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons