กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/561
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาดของผู้มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions on marketing mix of dental care recipients at Phayuhakhiri Hospital in Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง
กนกวรรณ พัฒนกิจจารักษ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลพยุหะคีรี
ทัณฑกรรม
บริการทางการแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับบริการของผู้มารับบริการทันตกรรม (2) ระดับความคิดเห็นของผู้มารับบริการทันตกรรมต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาด และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับบริการของผู้มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลพยุหะคีรี ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้มารับบริการทันตกรรม ในโรงพยาบาลพยุหะคีรี จำนวน 2,225 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาดของผู้มารับบริการทันตกรรม โดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้มารับบริการทันตกรรม ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 21-40 ปี จบการศึกษาตํ่ากว่าปริญญาตรีประกอบอาชีพเกษตรกร/ลูกจ้าง มีรายได้ต่อเดือน ตํ่ากว่า 5,000 บาท สถานภาพสมรสคู่ ในการประเมินปัจจัยด้านการรับบริการพบว่า ส่วนใหญ่เคยมารับบริการ ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยมารับบริการอุดฟัน และสิทธิในการรักษาพยาบาลที่ใช้คือบัตรประกันสุขภาพ (2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับบริการ พบว่า ผู้มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลพยุหะคีรีที่มีเพศ อายุ อาชีพ และประวัติในการรับบริการแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130712.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons