Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5638
Title: การส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้อย ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: The learning extension of self-sufficiency economy in Ban Noi, Chandum Sub-district, Phlapphla Chai District, Buriram Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร แปลงไธสง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
เศรษฐกิจพอเพียง--เกษตรกรรม
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--บุรีรัมย์
การเรียนรู้
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้อย ตาบลจันดุม 2) การส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตร การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.73 ปี มีสถานภาพสมรส เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ย 5,890.0 บาท มีระยะเวลาในการประกอบอาชีพ เฉลี่ย 23.07 ปี มีพื้นที่ถือครองต่ำกว่า 10 ไร่ และลักษณะการถือครองเป็นของตนเอง มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร วิทยุโทรทัศน์ จากการประชุม และการฝึกอบรม /สัมมนา 2).การส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกษตรกรทุกรายได้รับการเรียนรู้จากทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองและครัวเรือนในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และการเรียนรู้เสริมจากการศึกษาดูงานจากบุคคลต้นแบบ กลุ่มต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ 3).เกษตรกรมีการนาผลที่ได้จากาการเรียนรู้ตามหลักสูตร “การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจ พอเพียง” ไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า เกษตรกรมีการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดด้านเงื่อนไขการมีคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความมีเหตุผล ด้านเงื่อนไขการมีองค์ความรู้ และมีการนำไปปฏิบัติน้อยที่สุดในด้านความพอประมาณ 4).ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร “การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านผู้จัดการเรียนรู้ พบว่า เกษตรกรเกือบทั้งหมด เห็นว่าปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ คือ การให้เวลาของผู้จัดการเรียนรู้ ส่วนด้านวิธีการเรียนรู้ เกษตรกรเกือบทั้งหมด เห็นว่าปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ คือ การให้การเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริง 5).ปัญหาของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตร “การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาเนื้อหาขาดรายละเอียดของการปฏิบัติ และการจัดกิจกรรมเรียนรู้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5638
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148588.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons