กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5639
ชื่อเรื่อง: การใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PD2 bio-extract utilization for maize production by farmers in Ban Luang District of Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณายุทธ ณ น่าน, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--การปลูก
น้ำหมักชีวภาพ
เกษตรกร--ไทย--น่าน
อาหารสัตว์--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) ความรู้ แหล่งความรู้ ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) การใช้น้าหมัก พด.2 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ต้นทุนการใช้น้ำหมัก พด.2 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่ใช้น้ำหมัก พด.2 ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.54 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน 4.11 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เฉลี่ย 2.35 ปี อาชีพหลักทำไร่ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 15.31ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.08 คน มีระดับความรู้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ พด.2 เฉลี่ย 10.8 คะแนน ได้รับความรู้ จากสื่อบุคคล ทั้งหมดเคยศึกษาดูงาน ใช้พืชผักสด ผลไม้สุกเป็นวัตถุดิบ ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ร่วมกับสารเคมีกำจัดวัชพืช ใช้หลังจากฉีดพ่นสารเคมีคลุมหญ้า 30 วัน มีความถี่ในการฉีดพ่นจำนวน 3 ครั้ง มีต้นทุนเฉลี่ย 2,823.95 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 823.90 กิโลกรัม/ไร่ รายได้สุทธิ 3,475.45 บาท/ไร่ มีปัญหาในการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 น้อยมาก เกษตรกรต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดฝึกอบรม และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ส่วนเกษตรกรที่ไม่ใช้น้ำหมัก พด.2 ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.29 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน 3.74 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เฉลี่ย 2.00 ปี อาชีพหลักทำไร่ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 30.09ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.24 คน มีระดับความรู้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ พด.2 เฉลี่ย 8.06 คะแนน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 จากสื่อบุคคลน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยศึกษาดูงาน ความคิดเห็นต่อน้ำหมักชีวภาพ คิดว่าความรู้ไม่เพียงพอ ใช้แล้วไม่คุ้มค่า วิธีใช้ยุ่งยาก เกรงว่าใช้แล้วทำให้มีวัชพืชมาก ราคาขายไม่ต่างจากใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนเฉลี่ย 3,368.65 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 875.20กิโลกรัม/ไร่ รายได้สุทธิ 3,018.77 บาท/ไร่ เกษตรกรต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดฝึกอบรม และสนับสนุนปัจจัยการผลิต จัดทำแปลงสาธิต แนะนำการใช้อย่างถูกวิธี ส่งเสริมการใช้อย่างต่อเนื่อง และศึกษาดูงานการใช้น้ำหมัก พด.2 ที่ประสบความสำเร็จ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148589.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons