กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5649
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านถ่อนนาลับ ในจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmers' participation in the sufficiency economy community prototype project of Ban Ton Na Lub in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสิทธิ์ รัตนะ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินงานของโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านถ่อนนาลับ 2)สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับ 3) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับ ผลการวิจัยพบว่า (1)การดำเนินงานของโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับ เกิดจากการที่ชุมชนได้เริ่มคิดค้นกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบเครือญาติที่แน่นแฟ้น และภาวะผู้นำ เป็นตัวขับเคลื่อนทำให้เกิดกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้สำเร็จ มีพัฒนาการของกิจกรรมให้เชื่อมโยงกันเป็นระบบ และชุมชนบ้านถ่อนนาลับไม่ได้ปฏิเสธความช่วยเหลือจากภายนอก การส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ และ ธ.ก.ส. จะเป็นตัวหนุนเสริมให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น (2) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 44.44 ปี ร้อยละ 39.1 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.52 คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ย 2.78 คน เกษตรกรร้อยละ 75.0 กู้ยืมเงินจากกลุ่มธนาคารชุมชน (3) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงฯด้านการวางแผน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการดำเนินกิจกรรม การรับผลประโยชน์ และการติดตามประเมินผลอยู่ในระดับมาก (4) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ ด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการติดตามประเมินผลอยู่ในระดับน้อย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5649
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149429.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons