กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5662
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานการออกใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The office of agricultural research and development region 1-8's operation in issuing permits to possess hazardous materials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรทัศน์ คอนทรัพย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วัตถุอันตราย--ใบอนุญาต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานการออกใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายของสานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 ดังนี้ (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมของเจ้าหน้าที่ (2) การดำเนินงานการออกใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (3) ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อสภาพแวดล้อมในสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานการออกใบอนุญาต ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 34.39 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุรับราชการเฉลี่ย 6.09 ปี มีประสบการณ์การออกใบอนุญาตเฉลี่ย 2.90 ปี มีบุคลากรในการออกใบอนุญาตเฉลี่ย 2 คนต่อสานักงาน (2) เจ้าหน้าที่ทั้งหมดลงเลขที่รับและพิมพ์ใบคำขอ/คำขอต่อใบอนุญาต เจ้าหน้าที่ส่วนมากร้อยละ 87.2 ตรวจสถานที่ประกอบการ (กรณีขอใบอนุญาตใหม่) แต่ร้อยละ12.8 ไม่ปฏิบัติ เนื่องจากสารวัตรเกษตรมีไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดดำเนินการออกเลขที่ใบอนุญาต จัดพิมพ์ใบอนุญาต ทาบันทึกเสนอผู้อานวยการเพื่อลงนาม การออกใบเสร็จรับเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินรับชาระค่าธรรมเนียมและออกใบเสร็จรับเงิน การจัดส่งใบอนุญาต เจ้าหน้าที่ร้อยละ 97.7บันทึกข้อมูลใบเสร็จรับเงินลงในฐานข้อมูล แต่ร้อยละ 2.3ไม่ปฏิบัติงานเนื่องจากรอแฟ้มเสนอผู้อำนวยการลงนามอีกวันถึงจะบันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดถ่ายสำเนาใบอนุญาต การจัดเรียงใบอนุญาตและใบเสร็จรับเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานตามลำดับ การจัดส่งใบอนุญาต เจ้าหน้าที่ทั้งหมดพิมพ์ที่อยู่และนาใบอนุญาตใส่ซองแต่ร้อยละ 97.7 บันทึกใบรับฝากไปรษณีย์ ร้อยละ 2.3 ให้ธุรการดำเนินการจัดส่ง (3) ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง เป็นลำดับดังนี้ 1) ด้านสภาพแวดล้อมในการทางาน 2) ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน 3) ด้านรายได้และสวัสดิการ (4) ปัญหาการดำเนินงานการออกใบอนุญาตอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของหัวหน้างานการออกใบอนุญาต ส่วนปัญหาด้านงบประมาณ คือ การจัดสรรงบประมาณด้านการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และครุภัณฑ์ ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยี คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงาน และปัญหาด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากรผู้ออกใบอนุญาต คือ ความรู้ ความเข้าใจในระเบียบและข้อบังคับในการออกใบอนุญาต อยู่ในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150217.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons