กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5686
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการผลิต และการจัดการส่วนประสมการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตเฮลิโคเนีย ในตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline on development of production and marketing mix management of heliconia (Heliconia spp.) producing group in Thatakro Sub-district, Tha Muang District, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษร แช่มชื่น, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เฮลิโคเนีย--การตลาด
เฮลิโคเนีย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ผลิตเฮลิโคเนีย (2) การผลิตเฮลิโคเนีย (3) การจัดการส่วนประสมการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตเฮลิโคเนีย (4) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการผลิตและการจัดการส่วนประสมการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตเฮลิโคเนีย ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.8 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา แรงงานเป็นสมาชิกในครัวเรือน มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตัวเอง 10 – 20 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.0 ใช้เงินลงทุน ตั้งแต่ 10,001 – 50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 83.3 ผลิตเฮลิโคเนียเป็นอาชีพหลัก มีประสบการณ์ 20 ปี และเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเฮลิโคเนียเพียงกลุ่มเดียว (2) การผลิต มีพื้นที่เหมาะกับการผลิตเลือกใช้พันธุ์ที่ออกดอกตลอดปี มีชนิดช่อตั้ง และช่อดอกห้อย การปลูกแบบยกร่อง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ในปีที่ 1 ถึง ปีที่ 2 ให้นํ้าโดยการปล่อยนํ้าเข้าร่อง ตัดแต่งเฮลิโคเนียพร้อมกับการตัดดอก ศัตรูสำคัญที่พบคือ หนูและกระรอก เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเช้า ล้างทำความสะอาด คัดแยกพันธุ์และขนาด ก่อนบรรจุกล่องและ ส่งบริษัท (3) การจัดการส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ผลผลิตมีความหลากหลายสายพันธุ์ และตรงตามที่ตลาดต้องการ ด้านราคา ราคาคงที่ทุกฤดูกาล ด้านการจัดจำหน่าย มี 2 ช่องทางคือ จำหน่ายตรงสู่ผู้บริโภคและผ่านคนกลางบริษัทส่งออก และด้านส่งเสริมการตลาด มีการพบปะกับผู้ซื้อโดยตรง โฆษณาในการนำเสนอรูปแบบการนำไปใช้ประโยชน์ และจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร ส่งเสริมการขาย โดยการนำผลผลิตไปจัดแสดงตามงาน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์นิตยสารและเว็บไซต์ (4) ปัญหาที่พบ ด้านการผลิตได้แก่ วิธีการปรับปรุงพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนคุณภาพผลผลิตและปริมาณผลผลิตลงลด ด้านส่วนประสมการตลาดพบปัญหาด้านผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาด แนวทางการพัฒนาควรนำเข้าพันธุ์จากต่างประเทศและมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง มีการให้ข้อมูลระบบการผลิตที่ถูกต้อง และสนับสนุนเงินทุนในการวิจัย เพื่อการผลิตพืชในเชิงการค้าแบบครบวงจร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5686
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150219.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons