กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/569
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการสารสนเทศของเจ้าของสุนัขระหว่างที่มาใช้บริการหน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information needs of dog owners during their visits to a critical care unit : a case study of Kasetsart Veterinary Teaching Hospital, Bangkhen |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพร พุทธาพิทักษ์ผล พวงผกา มาลีวัตร, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นริศ เต็งชัยศรี |
คำสำคัญ: | โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน--บริการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ บริการสารสนเทศ--การศึกษาการใช้ สัตวบาล สุนัข |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศของเจ้าของสุนัขระหว่างที่มาใช้บริการหน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติของโรงพยาบาลสัตว์และผลลัพธ์ของสารสนเทศที่เจ้าของสุนัขใช้เพื่อเติมเต็มความต้องการของตน ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เจ้าของสุนัข จำนวน 20 คน ระหว่างที่มาใช้บริการหน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติของโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน โดยประยุกต์ทฤษฎีเซ็นส์เมกกิงของเบรนดา เดอร์วิน และใช้เทคนิคเหตุวิกฤติ จำแนกเหตุวิกฤติออกเป็น 4 เหตุการณ์ตามลำดับ ได้แก่ ช่วงเวลาเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ ช่วงเวลาขณะหาห้องปฏิบัติการของหน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤต ช่วงเวลาระหว่างการวินิจฉัยโรคเพื่อให้การรักษา/ผ่าตัด และช่วงเวลาภายหลังได้รับการรักษา/ผ่าตัด ผลการวิจัย พบว่า เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 90) มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 55) ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 40) และ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท (ร้อยละ 55) ในช่วงเวลาเมื่อเกิดเหตุวิกฤติเจ้าของสุนัขต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับการไปสถานพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่สุด รวมทั้งสารสนเทศของสถานพยาบาลสัตว์ที่พร้อมให้บริการ วิธีปฐมพยาบาลสุนัขเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ และวิธีปฏิบัติและปฐมพยาบาลสุนัขซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤติ เมื่อเดินทางถึงโรงพยาบาลสัตว์เจ้าของสุนัขต้องการไปถึงหน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในช่วงเวลาระหว่างรอการวินิจฉัยและการรักษาเจ้าของสุนัขต้องการรายละเอียดขั้นตอนของการวินิจฉัยโรคและแผนการรักษา และช่วงเวลาภายหลังได้รับการรักษาเจ้าของสุนัขคาดว่าต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับการดูแลสุนัข การรักษาต่อเนื่อง และแผนการให้การรักษาในอนาคต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/569 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (3).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License