Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/571
Title: การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: The provision of informal education by the monks in Nakhon Pathom province
Authors: นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมประสงค์ วิทยเกียรติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทองปลิว ชมชื่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรัฐ อนุเชิงชัย, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ --วิทยานิพนธ์
การศึกษาตามอัธยาศัย
สงฆ์กับการพัฒนาชุมชน.
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ (2) เปรียบเทียบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ จําแนกตามตําแหน่ง อายุ พรรษา วุฒิทางโลกและ วุฒิทางพุทธศาสนา (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ที่จัดให้กับประชาชนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มอย่าางง่าย ประกอบด้วย พระสังฆาธิการระดับวัด 125 รูป และพระสงฆ์ลูกวัด 300 รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตอนที่1 เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าและตอนที่ 3 เป็นแบบคําถามปลายเปิด คุณภาพเครื่องมือตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง ตอนที่ 2 เท่ากับ 0.9457 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคาด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ โดยเฉลี่ยทุกกิจกรรมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระสงฆ์จัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นอันดับแรก (2) การเปรียบเทียบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ จําแนกตามตําแหน่งกลุ่มพระสังฆาธิการ จัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้มากกว่ากลุ่มพระสงฆ์ลูกวัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเฉพาะด้านกิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จําแนกตามอายุ จัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้แตกต่างกันอยาางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มอายุ 40 – 59 ปี มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมากที่สุด จําแนกตามพรรษา จัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้แตกต่างกันอยาางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มพรรษา 41 - 60 พรรษา มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมากที่สุด จําแนกตามวุฒิการศึกษาทางโลก และวุฒิทางพุทธศาสนา จัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้ไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาและอุปสรรค ของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ์ที่จัดให้ประชาชนในชุมชน ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจของชุมชนไม่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมอนุรักษฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตั้งวัดประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ส่วนแนวทางการส่งเสริมการจัดการ ศึกษาตามอัธยาศัยของพระสงฆ ได้แก่ (1) ให้อุบาสก อุบาสิกา เป็นเครือข่ายในการอบรมพัฒนาจิตใจบุตรหลาน (2) ใช้วัดเป็นศูนย์รวมนํ้าใจในการจัดงานต่าง ๆ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/571
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82243.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons