กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5711
ชื่อเรื่อง: ความประทับใจของผู้โดยสารการบินไทยต่อการให้บริการของพนักงานการบินไทย ณ ห้องโถงผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The passengers' impression of Thai Airways Public Company Limited passengers with the service of Thai Airways staffs in the international departure
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนิศร สนิทวงศ ณ อยุธยา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
บริษัทการบินไทย--พนักงาน--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ผู้โดยสารเครื่องบิน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความประทับใจในการบริการของผู้โดยสาร ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (2) ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติการของหน่วขงาน และ (3) แนวทางในการปรับปรุงการบริการของหน่วยงานด้านบริการผู้โดยสารขาออกระหว่าง ประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้โดยสารทึ่มาใช้บริการ ณ ห้องโถงผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ในช่วงเดือนธันวาคม 2550 - มกราคม 2551 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริการ วิเคราะห์โดย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบียงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้โดยสารมีระดับความประทับใจต่อการให้บริการผู้โดยสาร ณ ห้องโถงผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ในระตับปานกลาง 1 ด้านคือ ด้านความมั่นใจ และอยู่ในระดับสูง 4 ด้านคือ ด้านความเชื่อถือได้ การตอบสนอง ความ เข้าถึงจิตใจ และการสร้างสิ่งที่จับต้องได้ และมีความคาดหวังต่อการให้บริการผู้โดยสาร ณ ห้อง โถงผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ในระดับสูงทึ่สุดทั้ง 5 ด้าน (2) ผู้โดยสารที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกันด้านเพศ อายุ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพครอบครัว รายได้ต่อเดือน และจำนวนครั้งที่ใช้บริการ ณ ห้องโถงผู้โดยสารขาออก ระหว่างประเทศโดยเฉลี่ยต่อปี จะมีความประทับใจต่อการบริการไม่แตกต่างกัน และ (3) ผู้โดยสาร ต้องการให้มีการปรับปรุงทั้งในส่วนของพนักงาน อุปกรณ์ในการทำงาน และในส่วนของการ ให้บริการให้สมบูรณ์ที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5711
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108614.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons