กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/574
ชื่อเรื่อง: สัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาแนวทางการทำสัญญาทางปกครองตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrative contracts between local governments : a case study on guildlines for administrative contracts under the notification of the decentralization to the local government organization committee
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
มาตรา รัตนสกาววงศ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธวัชชัย สุวรรณพานิช
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สัญญาทางปกครอง.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาแนวทางการทําสัญญาทางปกครองตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมกันจัดทําบริการสาธารณะ และหลักกฎหมายในการทําสัญญาทางปกครอง ตามกฎหมายต่างประเทศ ศึกษาหลักเกณฑ์ในการทําสัญญาทางปกครองของประเทศไทยและแนวทางการทํา สัญญาทางปกครองตามประกาศคณะกรรมการ การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึง การศึกษาปัญหาและหาแนวทางการทําสัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยุติข้อพิพาท อันเกิดจากสัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการเก็บรวบรวมข้อมูล กฎหมาย และเอกสารทางวิชาการต่างๆ เพื่อแนวทางการทําสัญญาทางปกครองระหว่างองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าการบันทึกข้อตกลงระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมกันจัดทํา บริการสาธารณะมีลักษณะเป็นสัญญาความร่วมมือทางปกครอง co-ordinate administrative contract กรณีของ ประเทศไทยได้มีประกาศคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการทําความตกลงร่วมมือกันจัดทําบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวางหลักเกณฑ์ไว้แต่ เนื่องจากได้ใช้บังคับ มาเป็นระยะเวลาสั้นๆ จึงยังมีความไม่สมบูรณ์ในด้านข้อกฎหมายรวมสามประเด็น ได้แก่ (1) การกำหนดความเป็นธรรมระหวางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคู่สัญญา (2) การถอนตัวจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือไปจนถึง การยุติบันทึกข้อตกลงความร่วมมือก่อนกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันเอาไว้ (3) การยุติข้อพิพาทระหว่าง คู่สัญญาและข้อพิพาทกับบุคคลภายนอกข้อเสนอแนะคือ (1) ในการทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือควรคํานึงถึง ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับมากกว่าความเป็นธรรมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คู่สัญญา (2) ควรแกไข้ เนื้อหาของประกาศในเรื่องของการสิ้นสุดของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (3) ควรกำหนดกระบวนการชี้ขาดข้อพิพาทกรณีที่ให้ชัดเจนและเหมาะสม ได้แก่ กรณีข้อพิพาทระหวางคู่สัญญา และข้อพิพาทกับบุคคลภายนอก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/574
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib153694.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons