Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/577
Title: แบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี
Other Titles: A guidance center model for Wat Laung Phor Sodh Dhammakayaram in Ratchaburi province
Authors: เจียรนัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระมหาปราโมทย์ ใจสมบูญ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
วัดกับการศึกษา
การแนะแนว--แบบจำลอง
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับวัดหลวงพ่อ สดธรรมกายาราม ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดตั้งศูนย์แนะแนวที่มีประสิทธิภาพผู้วิจัยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศูนย์แนะแนว จากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแนะแนว ต่อมาได้ใช้เทคนิคเดลฟายประมวลความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 23 คน รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับศูนย์แนะแนว จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 212 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้รับบริการแนะแนว ได้แก่ เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ แต่ละวัยแบ่งเป็นชายและหญิงจำนวนเท่ากันรวมเป็น 180 คน (2)กลุ่มผู้ให้บริการแนะแนว ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 10 รูป และ (3) กลุ่มผู้สนับสนุนงานแนะแนว ได้แก่คณะกรรมการวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ประกอบด้วยพระภิกษุจำนวน 6 รูป และฆราวาสจำนวน16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย ระหว่าง ควอไทล์ แลัวนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบจำลองศนย์แนะแนว และนำไปให้ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองศูนย์แนะแนว สำหรับวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามจังหวัดราชบุรีที่สรัางขึ้น เป็นแบบจำลองที่ดี สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้ง ศูนย์แนะแนวได้ โดยศูนย์แนะแนวควรเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารของวัด ผ่านคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการฝ่ายปฏิบัติงานแนะแนว มีรองเจ้าอาวาส หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าศูนย์แนะแนว แบ่งสายการปฏิบัติงานออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการ และฝ่ายวิชาการ ใช้การประสานความร่วมมือในรูปเครือข่ายการแนะแนวกับชุมชนสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เน้นการนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการทั้ง 3 วัย คือ เด็ก วัยรู่น และผู้ใหญ่ ตามขอบข่ายงาน แนะแนวต้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/577
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82866.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons