กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/580
ชื่อเรื่อง: การสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีที่ไม่จำต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Termination of membership of persons holding political positions that should not be referred to the constitutional court for consideration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ร่มปรางค์ สวมประคำ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
นักการเมือง -- ไทย
ความผิดทางการเมือง
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
ศาลรัฐธรรมนูญ -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีที่ไม่จำต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ (2) ศึกษาถึงเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้สิ้นสุดสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาถึงการวินิจฉัยเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งไม่ต้องขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร โดยค้นคว้าจากบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ กฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เอกสาร ตำราทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ นั้น เพื่อทำหน้าที่ในการคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และควบคุมมิให้องค์กรของรัฐกระทำการ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญของไทยตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พบว่ามีหลากหลาย รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) เจตนารมณ์และ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบในการกำหนดลักษณะและพฤติการณ์ของบุคคลที่จะเข้าสู่กระบวนการ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่ขั้นตอนการเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จนถึงขั้นตอนภายหลังที่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองผ่านขั้นตอนและกระบวนการเข้าสู่ตำ แหน่งแล้ว แต่จากการศึกษาพบว่า บางกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้าม มีลักษณะที่ประจักษ์ชัดเจนโดยองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้โดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เป็นอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย (3) บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม ถือเป็นกรณีเป็นที่ประจักษ์ ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรโดยสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สามารถมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองที่ต้องด้วยเหตุดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งได้โดยไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สำหรับกรณีการกระทำ อันต้องห้าม ถือเป็นกรณีที่ไม่ประจักษ์ชัดเจน ควรกำหนดให้เป็นกรณีที่จำต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และ (4) ควรมีการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งแยกให้องค์กรวินิจฉัยหรือศาล ที่มีอำนาจในการตรวจสอบและวินิจฉัยอย่างชัดเจนเพื่อเป็นการลดขั้นตอน และกระบวนการเกี่ยวกับการวินิจฉัย ความสิ้นสุดสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงไปได้เป็นอย่างมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/580
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138820.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons