Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5805
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Adoption of off-season lime production technology by farmers in Phusing District, Si Sa Ket Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิทักษ์ชัย บั้งทอง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะนาว--การผลิต
พืชนอกฤดู
การเก็บเกี่ยวนอกฤดู
เทคโนโลยีการเกษตร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานส่วนบุคคล ทางสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวนอกฤดูในอาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติการในการผลิตมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรในอาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวนอกฤดูในอาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวนอกฤดูในอาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล ทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.46 ปีโดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูเฉลี่ย 1.89 ครั้ง มีจานวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 2.76 คน และเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 13.20 ไร่ โดยมีที่ดินเป็นของตนเองเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จานวนมะนาวที่เกษตรกรปลูกเฉลี่ย 11.14 บ่อ มีรายได้จากการปลูกมะนาวนอกฤดูเฉลี่ย 10,657.01 บาทต่อปี เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตมะนาวนอกฤดูต่อพื้นที่ 1 ไร่ เฉลี่ย 4,534.21 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 3,183.55 บาท 2) ความรู้และการปฏิบัติการในการผลิตมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การใส่ปุ๋ยและการป้องกันกาจัดโรคและแมลงหลังการตัดแต่งกิ่งเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนอันดับสุดท้ายคือเรื่องการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกาจัดโรคแมลงในช่วงดอกบาน การปฏิบัติในการผลิตมะนาวนอกฤดูพบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติสม่าเสมอในเรื่องการใส่ปุ๋ยหลังการตัดแต่งกิ่ง การปลิดดอกเพื่อไม่ให้ออกผลในฤดู วิธีการปลิดผล และการให้น้าและการใช้ฟางคลุมต้น ไม่มีการปฏิบัติในเรื่องการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกาจัดโรคแมลงในช่วงดอกบาน 3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการยอมรับในระดับมาก ส่วนประเด็นที่มีการยอมรับในระดับมากที่สุด ได้แก่ การงดน้าและให้น้าเพื่อบังคับออกนอกฤดู อายุต้นที่พร้อมบังคับออกนอกฤดู ช่วงการปลิดดอกและผลอ่อนมะนาว การคลุมพลาสติกสีดาโคนต้นเพื่อบังคับนอกฤดู การนาคลุมพลาสติกสีดาออกหลังงดน้า และการใส่ปุ๋ยหลังช่วงงดน้า 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตมะนาวนอกฤดูพบว่า เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ความเพียงพอของปริมาณน้า ความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้าในแปลง ราคาของกิ่งพันธุ์ ความรู้ในการใช้ปุ๋ยที่ถูกวิธี จานวนแรงงาน ความแน่นอนของแหล่งจาหน่ายผลผลิต และมีข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุดได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูควรเข้าใจง่ายต่อการปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการผลิตมะนาวนอกฤดู และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่นเพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้บริโภค
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5805
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152377.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons