Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5819
Title: มาตรการลงโทษทางอาญา กรณีฝ่าฝืนการถือครองที่ดินแทนคนต่างด้าว
Other Titles: The criminal sanction measures in case of violation of the aliem land holding
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬาภรณ์ ธีรภัทรสิริ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การถือครองที่ดิน
คนต่างด้าว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
กฎหมายอาญา
การลงโทษ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การค้นคว้าอิสระเรื่อง การถือครองที่ดินโดยคนต่างด้าวมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการถือ ครองที่ดินของคนต่างด้าวและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมโดยอาศัยตัวแทนอำพรางตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 2. เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อครองที่ดินของคนต่างด้าวและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้มีการใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า จากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาฎีกาว่าสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศรวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมในการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว ผลการศึกษาพบว่าการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวหากปราศจากการควบคุมจะเป็นการเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศผลการวิจัย พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ยังมีปัญหาหลายด้าน เช่น นักลงทุนต่างชาติอำพรางตนเข้ามาประกอบธุรกิจในฐานะนิติบุคคลไทยอย่างถูกกฎหมายด้วยการถือหุ้นทางอ้อมและอย่างผิดกฎหมายด้วยกัน ถือหุ้นผ่านบุคคลหรือนิติบุคคลไทย รวมทั้งคำนิยามคนต่างด้าวของไทยยังไม่สามารถแยกนักลงทุนต่างด้าวและนักลงทุนในประเทศออกจากกันได้อย่างชัดเจนและบทกำหนดโทษดังกล่าว กำหนดโทษเบาทำให้ไม่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหา มีสองแนวทางในระยะสั้น ควรมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบปัญหาคนต่างด้าวอย่างจริงจังอย่างเช่นประเทศออสเตรเลียมีคณะกรรมการคอยกำกับดูแลเกี่ยวกับคนต่างด้าวโดยเฉพาะ โดยอาศัยมาตรา1(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งกำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาการทำธุรกรรมลักษณะตัวแทนอำพรางแทนคนต่างด้าว แนวทางที่สองในการแก้ปัญหาระยะยาวควรแก้ไข้ ประมวลกฎหมายที่ดินเฉพาะในบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าว โดยแก้ไขคำนิยามจองคนต่างด้าวและเพิ่มอัตราพูดในการถือของครองที่ดินแทนคนต่างด้าวให้มีโทษจำคุกและปรับสูงขึ้น กำหนดบทเฉพาะกาลให้นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามกฎหมายเดอะเดิมแต่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่ แก้ไขเพิ่มเติมหากประสงค์จะประกอบธุรกิจต่อไปต้องแจ้งต่ออธิบดีภายในหนึ่งปี เพื่อขอหนังสือรับรองการ ประกอบธุรกิจแล้วสามารถประกอบธุรกิจตามบัญชีต่อไปได้ส่วนธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือวันที่สองสามารถ ประกอบธุรกิจได้ไม่เกินสองปี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงคำนิยามดังกล่าวสามารถประกอบ ธุรกิจตามบัญชีสามได้ต่อไปหรือหากประกอบธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือสองซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศก็ต้องปรับตัวหรือหรือเลิกประกอบธุรกิจภายในสองปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5819
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_151402.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons