กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/581
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effectiveness of self-management program on type 2 diabetic patients in Thakor, Measuai District, Chaiangrai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
เบาหวาน--ผู้ป่วย
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ (2) ผลของโปรแกรมการ จัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยนำแนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์ (Kanfer) มาเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัย กลุ่มตัวอยางเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าก๊อ จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 20 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ชนิดของยารักษาเบาหวานและระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการดูแลตามปกติเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการจัดการตนเองแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบ บันทึกระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการจัดการตนเองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) หลังทดลองค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ค่าเฉลี่ยระดับ น้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/581
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext 151569.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons