กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5826
ชื่อเรื่อง: การผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Vegetables production of good agricultural practice by farmers in Nong Khai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นาวินทร์ แก้วดวง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผัก--การปลูก
ผักปลอดสารพิษ
ผักไร้สารพิษ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ในการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (3) การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมในการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรประมาณสองในสามเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.12 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีจานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.72 คน แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2 คน แรงงานผลิตผักปลอดภัยเฉลี่ย 2.22 คน พื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 1.40 งาน รายได้จากการผลิตผักปลอดภัยทั้งปีเฉลี่ย 18,176.11 บาท ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในระดับมาก จากสื่อกิจกรรมและสื่อบุคคล 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากถึงมากที่สุด 3) การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรส่วนมากมีการปฏิบัติ ในด้านแหล่งน้า พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา และการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล และมีเกษตรกรส่วนน้อยมีการปฏิบัติในด้านการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ 4) ความต้องการการส่งเสริมในการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีความต้องการทั้งเนื้อหาและวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาด้านบันทึกข้อมูลและการตามสอบ ในส่วนของการจัดทาเอกสารหรือแบบบันทึกการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้เกษตรกรเสนอแนะว่าต้องการที่จะมีตลาดที่รองรับผลผลิตที่ชัดเจนและขยายมายังชุมชนหรือท้องถิ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5826
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153202.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons