Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/584
Title: ผลกระทบของแรงงานประมงทะเลชาวต่างด้าวบริเวณปากน้ำจังหวัดระยองที่มีผลต่อความมั่นคงและการเมืองท้องถิ่น
Other Titles: The impact of alien fishing industry workers in the Pak Nam Area of Rayong Province on local security and politics
Authors: รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
รสลิน ศิริยะพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พีระ รัตนวิจิตร, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
แรงงานต่างด้าว--แง่สังคม
แรงงานในการประมง
แรงงานต่างด้าว--แง่การเมือง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของแรงงานประมงทะเลชาวต่างด้าวบริเวณปากนํ้าจังหวัดระยอง ที่มีต่อความมั่นคงและการเมืองท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงงานประมงทะเลชาวต่างด้าวมีผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านการเมือง ด้านสังคมจิตวิทยา และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการพลังงานและสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจมีมาก เพราะแรงงานประมงทะเลชาวต่างด้าวเป็นป้จจัยการผลิตในการสรัางรายได้ให้กับพื้นที่ (2) แรงงานประมงทะเลชาวต่างต้าวมีผลกระทบต่อการเมืองท้องถิ่น 2 ด้าน คือ ด้านสภาพการณ์ของการเมืองท้องถิ่น และด้านการแข่งขันของนักการเมืองท้องถิ่น ผลกระทบด้านการเมืองท้องถิ่นในประเด็นด้านความเท่าเทียมกัน การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ด้านความสามารถ การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล การขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ด้านความแตกต่างและความชำนาญเฉพาะด้านในสถาบันต่างๆ การรวมกลุ่มทางสังคม และ ผลกระทบต่อการแข่งขันของนักการเมืองท้องถิ่น ในประเด็นการได้มาซึ่งอำนาจ การยกย่องนักการเมือง ท้องถิ่น ด้านการใช้อำนาจการบังกับใชักฎหมายแรงงานต่างด้าว และด้านการรักษาอำนาจ แรงงานประมง ชาวทะเลต่างด้าวมีผลกระทบต่อการเมืองท้องถิ่นมาก โดยมีผลกระทบต่อการรักษาฐานเสียงในกลุ่ม ผู้ประกอบการประมงทะเลและกลุ่มประชาชนทั่วไป คือ นักการเมืองท้องถิ่นได้คะแนนเสียงในการ เลือกตั้งจากเจ้าของสถานประกอบการที่มีแรงงานคนไทยจำนวนมากน้อยลง เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของ สถานประกอบการไม่ได้ใช้แรงงานคนไทยแต่ใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง และ นักการเมืองท้องถิ่นใช้อำนาจการออกกฎหมายระเบียบข้อบังคับ หรือบทบัญญัติที่เคร่งครัดมากขึ้น เนื่องจากมีแรงงานชาวต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังพบว่า แรงงานประมง ทะเลชาวต่างด้าวเป็นเครื่องมือของนักการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มธุรกิจในการแสวงหาผลประโยชน์
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/584
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
115028.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons