กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5853
ชื่อเรื่อง: อำนาจสอบสวนคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal investigation authority
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติภณ พงศ์พิทยา, 2502- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
อำนาจพิจารณาคดีอาญา
การสอบสวนคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ความเป็นมา และวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา โดยพนักงานสอบสวนที่เป็นตำรวจในการดำเนินคดีอาญาชั้นก่อนฟ้อง เปรียบเทียบกับการสอบสวนคดีอาญากับของต่างประเทศ เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 ให้มีมาตรฐานในระดับสากล อย่างนานาอารยประเทศ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีพิจารณาทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คำพิพากษาศาลฎีกา ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ ตำรา หนังสือต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลทางสื่ออีเล็กโทรนิกส์ นำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย พนักงานอัยการ ไม่มีอำนาจเข้าร่วมสอบสวนคดีอาญาตั้งแต่เริ่มต้น คดีจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดทิศทาง หรือวางรูปคดี หรือสัมผัสกับพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนเลย แม้ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมาย ให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนคดีอาญา ในคดีเกี่ยวกับความผิดของเด็ก คดีชันสูตรพลิกศพ คดีความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร และคดีความผิดเกี่ยวกับคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 แต่ยังเป็นส่วนน้อย ควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้พนักงานอัยการเข้ามีส่วนร่วม และควบคุมการสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง เพื่อให้การสอบสวนคดีอาญาและ การฟ้องคดีเป็นอำนาจเดียวกัน ประเทศที่เป็นต้นแบบแนวคิดเรื่องการสอบสวนและการฟ้องร้องคดี เป็นอำนาจเดียวกันแบ่งแยกไม่ได้ คือ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทย ควรมีการแก้ไขกฎหมาย ให้การสอบสวนและการฟ้องคดี เป็นอำนาจเดียวกันเช่นเดียวกับของประเทศญี่ปุ่น โดยให้พนักงานอัยการเข้าไปมีส่วนร่วม และควบคุมการสอบสวนคดีอาญา ทั้งปวง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาแก่ประชาชน และให้การสอบสวนเป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5853
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_156073.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons