กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/585
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของ TQM ในโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | TQM-bease effectiveness of Northern community hospitals in hospital accreditation program |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พาณี สีตกะลิน ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พรทิพย์ เชิดชูพงศ์ล้ำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชุมชน--การบริหาร โรงพยาบาลชุมชน การบริหารคุณภาพโดยรวม |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งทึ่มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ประเมินประสิทธิผลของ TQM ในการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของ TQM ระหว่างโรงพยาบาลที่ได้รับและยังไม่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของ TQM ระหว่างโรงพยาบาลที่ไต้รับและยังไม่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของ TQM กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลจำนวน 278 คน จากโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือจำนวน 30 แห่ง ประกอบด้วยโรงพยาบาลได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลจำนวน 10 แห่ง และที่ยังไม่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลจำนวน 20 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิผลของ TQM ในการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือจากเกณฑ์การประเมินของ The Malcolm Baldrige National Award ปี 2003 สถิติที่ได้ในการวิเคราะฑ์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลส่วนใหญ่ (12 แห่ง) มีประสิทธิผลของ TQM ในอยู่ในระดับสูง 2) ประสิทธิผลของ TQM ในโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองกระบวนคุณภาพโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของ TQM ทุกตัว (ภาวะผู้นำ ระบบสารสนเทศและการวิเคราะห์ การวางแผนเชิงกลยุทธ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลการจัดการกระบวนการ การเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และผลลัพธ์การดำเนินการ) ของโรงพยาบาลที่ได้รับ การรับรองกระบวนคุณภาพโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) 4) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของ TQM ของ โรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเชิงบวกทุกปัจจัย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/585 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License