กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5872
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมบันทึกผลการตรวจหาเชื้อวัณโรคจากเสมหะโดยวิธีย้อมสีทนกรดของโรงพยาบาลไทรงาม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a program for recording results of sputum acid-fast staining for tuberculosis bacteria at Saingam Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา วรรณิภา ทาโสม, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วัณโรค--การวินิจฉัย การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในงานการแพทย์และสาธารณสุขทำให้เกิดการพัฒนางานที่สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเป็นโปรแกรมบันทึกผลการตรวจหาเชื้อวัณโรคจากเสมหะโดยวิธีย้อมสีทนกรดของโรงพยาบาลไทรงาม และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมดังกล่าว กระบวนการพัฒนาโปรแกรม มีการออกแบบโดยนำสมุดทะเบียน TB 04 ที่ใช้ในการลงข้อมูลมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาโปรแกรมสร้างเว็บไซต์และเขียนโปรแกรมให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงได้ในระบบออนไลน์ ประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องและประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ภายหลังจากปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ทดลองใช้งานด้วยตนเองก่อนนำไปให้นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนักวิชาการสาธารณสุขของโรงพยาบาลไทรงาม 3 ท่าน ทดลองใช้งาน และประเมินความพึงพอใจจากใช้งานโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ผลการพัฒนา (1) โปรแกรมเว็บไซต์เอเอฟบีรีจิสเตอร์ ประกอบด้วยการล็อคอินเข้าสู่ระบบ เมนูโปรแกรม เมนูทะเบียนบันทึกผล เมนูค้นหา เมนูบันทึกผล และเมนูจัดการผู้ใช้ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องและประสิทธิภาพของโปรแกรมเท่ากับ 1.0 และ (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรม พบว่าภาพรวมของรูปแบบโปรแกรม สี ขนาดตัวอักษรชัดเจน เข้าใจง่าย การสืบค้นข้อมูล การเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลสามารถทำได้ง่าย มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก สามารถนำมาใช้งานในห้องปฏิบัติการได้จริง และทำให้การทำงานสะดวกมีประสิทธิภาพดีขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5872 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License