กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5887
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองสิทธิผู้พ้นโทษให้มีงานทำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Protection of the ex-convicts rights to be employed |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถํ้า จิรพัฒน์ ลิ้มพิพัฒน์ธน, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี บุคคลผู้พ้นโทษ--การจ้างงาน การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทํางานของผู้พ้นโทษในการสมัครงาน เพื่อนํามาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยใช้วิธี การศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตํารา บทความ รายงานวิชาการต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อนํามาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปสู่ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่ายังมีข้อบกพร่องของกฎหมายซึ่งมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่เจาะจงเฉพาะกลุ่มบุคคลผู้พ้นโทษในการทํางาน ซึ่งทําให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่มีโอกาสประกอบอาชีพสุจริต ถูกปิดกันเพราะผลของกฎหมายต้องหวนกลับไป กระทําผิดซํ้าจนเกิดปัญหาอาชญากรรมซํ้าซาก เห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่หมดความจําเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันในการประกอบอาชีพ โดยนําหลักเกณฑ์ และวิธีการแก้ไขฟื้นฟูหรือการคุมความประพฤติผู้กระทําผิดที่มีโทษไม่ร้ายแรงความผิดเล็กน้อยและเป็นการทําผิดครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษหรือการคุมความประพฤติได้มากขึ้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการจําคุกระยะสั้นทําให้เกิดมลทินแก่ผู้กระทําผิดที่ในกมลสันดานไม่มีความชั่วร้ายและเพื่อให้เป็นไปตามหลักนโยบายแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคีในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5887 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_156619.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License