กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5891
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน ของกลุ่มอฑิตยาเบอร์ล่าในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of Thailand quality award criterias apply in developing supply chain management ; a case of Aditya Birla Group Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจนแสง กนกวรรณ อำนวยสาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ การบริหารคุณภาพโดยรวม ห่วงโซ่อุปทาน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นหลักการบริหารที่สำคัญ และสอดคล้องกับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้องค์กรได้บรรลุวัตถุประสงค์ และตรงตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้ (1) เพื่อศึกษาการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานขององค์กร จากผู้ได้รับรางวัล (2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานและการนำไปปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (3) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มตัวอย่างที่เลึอกใช้เกณฑ์การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเลือกจากองค์กรที่ประสบผลสำเร็จได้รับรางวัลคุณภาพ คือบริษัท ไทยอคิริคไฟเบอร์ จำกัด และ บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็คจำกัด (มหาชน) เครึ่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน มีการทดสอบความเชี่อมั่นแล้วมีค่าเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ใช้วิธีการสหสัมพันธ์ของเพียรสัน และไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ พนักงานองค์กรเป้าหมายมีส่วนร่วมในการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาดอยู่ในระดับมาก (2) พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน พบว่าพนักงานให้ความสำคัญกับลูกค้าภายใน และตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าภายนอก อยู่ในระดับมาก (3) ระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติกับ ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน พบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.04 . |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5891 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108672.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License