Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5908
Title: | พฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทราเมนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Consumer behavior in using services of Ramen Japanese restaurant in Bangkok Metropolis |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร รสสุคนธ์ วิจิตเวชไพศาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ อาหารญี่ปุ่น พฤติกรรมผู้บริโภค ราเมน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการ (2) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการ (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการ (4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมการใช้บริการแตกต่างกัน กับส่วนประสมการตลาด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยวิธีการสำรวจ ประชากรคือผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทราเมนในกรุงเทพมหานคร ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคว์สแควร์การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 21-25 ปี โสดเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยตํ่ากว่า 10,000 บาท พฤติกรรมการใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชื่นชอบน้ำชุปพร้อมสั่งเกี้ยวซ่าและเครื่องดื่มชาเขียว เลือกร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นภายในห้างสรรพสินค้า เหตุผลที่รับประทานเพราะมีราคาถูกกว่าอาหารญี่ปุ่นประเภทอื่นโดยจ่ายค่าอาหาร เฉลี่ย 91-120 บาทต่อคนต่อมื้อ ใช้เวลาเฉลี่ย 1 ชม.-1 ชม.15 นาที ระหว่างเวลา 12.01-14.00 น. เฉลี่ยเดือนละครั้ง มักมาเป็นกลุ่มกับเพื่อนแต่จะเลือกร้านด้วยตัวเอง ไม่มีโอกาสในการรับประทานและรับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ (2) กสุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย บุคลากร กระบวนการให้บริการและลักษณะทางกายภาพในระดับมาก ส่วนด้านส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง (3) รายได้และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการจ่ายค่าอาหารเฉลี่ยต่อคนต่อมือ (4) ผู้ใช้บริการที่มีรายได้และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดแต่ละด้านแตกต่างกัน. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5908 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
108675.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License