กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5911
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเครือข่ายพรุดินนา เพหลา คลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an electronic learning package in Dramatic Arts on the topic of Language of Theatrical Art for Mathayom Suksa I students in schools of Prudinna Phela Khlong Thom Nuea Education Network in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ
บัณฑิตา ราชบัณฑิตย์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
นาฏศิลป์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเครือข่าย พรุดินนา เพหลา คลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในเครือข่ายพรุดินนา เพหลา คลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชานาฏศิลป์ เรื่องภาษาท่าทางนาฏศิลป์ มีประสิทธิภาพ คือ 79.79/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านนักเรียนชอบเรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และเสียงประกอบช่วยเพิ่มความสนใจในบทเรียนมากขึ้นในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5911
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม35.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons