กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5922
ชื่อเรื่อง: | ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมคอสในระบบ Nutrient Film Technique |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of growing media on growth of Cos Lettuce (Lactuca sativa L. var. romana) in Nutrient Film Technique |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา วรากร ดีน้อย, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | ผักกาดหอมคอส--การปลูก วัสดุปลูกพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมบัติของวัสดุปลูกผักกาดหอมคอส 2) ผลของวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ดผักกาดหอมคอส 3) ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมคอสที่ปลูกในระบบ NFT ผลการทดลองพบว่า 1) วัสดุปลูกทุกชนิดมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01) แกลบดำและขุยมะพร้าวมีค่าความหนาแน่นรวม (0.21 และ 0.08 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ความพรุนรวม (79.53 และ 90.06 เปอร์เซ็นต์) ความสามารถในการอุ้มนํ้า (66.50 และ 74.38 เปอร์เซ็นต์) และปริมาณช่องว่างของอากาศ (13.03 และ 15.69 เปอร์เซ็นต์) ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุปลูก ซึ่งวัสดุปลูกทั้งสองชนิดมีค่าความหนาแน่นและปริมาณช่องว่างของอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีค่าความพรุนรวมและความสามารถในการอุ้มนํ้าสูงกว่า โดยเกณฑ์มาตรฐานของค่าความหนาแน่นรวม ความพรุนรวม ความสามารถในการอุ้มนํ้า และปริมาณช่องว่างของอากาศ เท่ากับ 0.15-0.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 60-75 เปอร์เซ็นต์ 35-50 เปอร์เซ็นต์ และ 10–20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 2) เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดผักกาดหอมคอสที่เพาะในขุยมะพร้าว 7 และ 14 วันหลังเพาะเมล็ด มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด เท่ากับ 76.40 และ 98.61 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างกันกับวัสดุปลูกอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01) 3) การเจริญเติบโตของต้นผักกาดหอมคอสในระบบ NFT พบว่า ผักกาดหอมอายุ 21 และ 28 วันหลังเพาะเมล็ดที่ปลูกในขุยมะพร้าว มีความสูงต้น ขนาดทรงพุ่ม จำนวนใบ นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหนักแห้งต้นมากที่สุด และมีความแตกต่างกับวัสดุปลูกอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01) ส่วนผักกาดหอมคอส อายุ 35 วันหลังจากเพาะเมล็ดที่ปลูกในขุยมะพร้าวมีความสูงของต้นมากที่สุดเท่ากับ 40.27 เซนติเมตร และมีความแตกต่างกับวัสดุปลูกอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01) ส่วนการเจริญเติบโตทางด้านความยาวราก ขนาดทรงพุ่ม จำนวนใบ นํ้าหนักสด และนํ้าหนักแห้งพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เช่นเดียวกันกับผักกาดหอมคอส อายุ 42 วันหลังเพาะเมล็ดในทุกวัสดุปลูกที่การเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ในทุกๆด้าน แต่ขุยมะพร้าวยังคงมีนํ้าหนักสดและนํ้าหนักแห้งสูงที่สุดเท่ากับ 204.28 และ 18.25 กรัมตามลำดับ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5922 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153286.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License