Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5928
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการโอน และการลาออกของข้าราชการกรมสรรพากร |
Other Titles: | Factors affecting the transfer and resignation of civil servants in Revenue Department |
Authors: | เฉลิมพงศ์ มีสมนัย มุกดา ต่ายเขียว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ กรมสรรพากร--ข้าราชการ--การลาออก กรมสรรพากร--ข้าราชการ--การย้าย |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนและลาออกของข้าราชการกรมสรรพากร (2) ปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดจากภายนอกหน่วยงานที่ทำให้ข้าราชการกรมสรรพากรโอนและลาออกจากกรมสรรพกร (3) แนวทางและวิธีการธำรงรักษาบุคลากรของกรมสรรพากรที่มีความรู้ความสามารถการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการกรมสรรพากรที่ได้โอนและลาออกจากกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 จำนวน 255 คน จาก ทั้งหมด 705 คน เครื่องมือที่ใช์ไนการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นใหม่ โดยมีค่าความเที่ยงตรงตามเนี้อหาและค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ให้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียรสัน การทดสอบทีการทดสอบเอฟ่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนและลาออกของข้าราชการกรมสรรพากรได้แก่ลักษณะงานในความรับผิดชอบ ค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล ความต้องการกลับภูมิลำเนาการประเมินผลงาน ระบบการบริหารงาน สภาพการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าจากการปฏิบัติงาน และ ภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรตามลำดับ (2) ปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดจากภายนอกหน่วยงานที่ทำให้ข้าราชการกรมสรรพากรโอนและลาออกจากกรมสรรพากร ได้แก่ สภาพการปฏิบัตงาน ลักษณะงานในความวรับผิดชอบ ความต้องการกลับภูมิลำเนาระบบการบริหารงาน การประเมินผลงาน ค่าตอบแทนและ ผลประโยชน์เกื้อกูล ความก้าวหน้าจากการปฎิบัติงาน และภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรตามลำดับ (3) แนวทางและวิธีการธำรงรักษาบุคลากรของกรมสรรพากรที่มีความรู้ความสามารถได้แก่ การปรับปรุง ด้านการประเมินผลงาน ด้านสวัสดิการหรือผลประโยชน์ การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อให้เกิดความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน การปรับปรุงระบบงาน สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ และรับผิดชอบ ร่วมกัน ผู้บริหารควรยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานอย่างแท้จริงโดยไม่เป็นเครื่องมือแก่นักการเมือง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5928 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
108681.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License