กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5928
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการโอน และการลาออกของข้าราชการกรมสรรพากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the transfer and resignation of civil servants in Revenue Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มุกดา ต่ายเขียว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
กรมสรรพากร--ข้าราชการ--การลาออก
กรมสรรพากร--ข้าราชการ--การย้าย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนและลาออกของ ข้าราชการกรมสรรพากร (2) ปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดจากภายนอกหน่วยงานที่ทำให้ข้าราชการกรมสรรพากร โอนและลาออกจากกรมสรรพกร (3) แนวทางและวิธีการธำรงรักษาบุคลากรของกรมสรรพากรที่มี ความรู้ความสามารถ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการกรมสรรพากรที่ได้โอนและลาออก จากกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 จำนวน 255 คน จาก ทั้งหมด 705 คน เครื่องมือที่ใช์ไนการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นใหม่ โดยมีค่าความเที่ยงตรง ตามเนี้อหาและค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ให้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียรสัน การทดสอบทีการ ทดสอบเอฟ่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนและลาออกของข้าราชการกรมสรรพากร ได้แก่ลักษณะงานในความรับผิดชอบ ค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล ความต้องการกลับภูมิลำเนา การประเมินผลงาน ระบบการบริหารงาน สภาพการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าจากการปฏิบัติงาน และ ภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรตามลำดับ (2) ปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดจากภายนอกหน่วยงานที่ทำให้ ข้าราชการกรมสรรพากรโอนและลาออกจากกรมสรรพากร ได้แก่ สภาพการปฏิบัตงาน ลักษณะงานใน ความวรับผิดชอบ ความต้องการกลับภูมิลำเนาระบบการบริหารงาน การประเมินผลงาน ค่าตอบแทนและ ผลประโยชน์เกื้อกูล ความก้าวหน้าจากการปฎิบัติงาน และภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรตามลำดับ (3) แนวทางและวิธีการธำรงรักษาบุคลากรของกรมสรรพากรที่มีความรู้ความสามารถได้แก่ การปรับปรุง ด้านการประเมินผลงาน ด้านสวัสดิการหรือผลประโยชน์ การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อให้เกิดความเป็นนํ้า หนึ่งใจเดียวกัน การปรับปรุงระบบงาน สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ และรับผิดชอบ ร่วมกัน ผู้บริหารควรยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานอย่างแท้จริงโดยไม่เป็นเครื่องมือแก่ นักการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108681.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons