กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/593
ชื่อเรื่อง: บรรยากาศองค์การของโรงพยาบาลกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Oganization climate of Kamphaengphet hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทองหล่อ เดชไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กังสดาล สุทธวิรีสรรค์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลกำแพงเพชร
บุคลากรโรงพยาบาล--ไทย--กำแพงเพชร
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บรรยากาศองค์การตามการรับรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลกำแพงเพชรทั้งรายด้านและในภาพรวม (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของบรรยากาศองค์การแยกตามลักษณะประชากร และ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของบรรยากาศองค์การแยกตามลักษณะหน้าที่ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกำแพงเพชร จำนวน 250 คน ที่ได้มาจากการสุ่มเป็นระบบในแต่ละชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลด้านลักษณะประชากร ลักษณะหน้าที่ในการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามบรรยากาศองค์การ ของลิทวินและสตรีงเจอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ผลต่างนัยสำคัญ การทดสอบครสคัล-วัลลิส การทดสอบแมนวิทนีย์ ยู และการทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรมีการรับรู้บรรยากาศองค์การในการปฏิบัติงานทั้งในระดับ รายด้านและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) บุคลากรที่มีลักษณะประชากรด้านอายุ สถานภาพสมรส และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีการรับรู้บรรยากาศองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่ากลุ่มที่มีอายุ 21-30 ปี มีการรับรู้บรรยากาศองค์การสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุ 31-40 ปี และกลุ่มอายุ 41-50 ปี กลุ่มที่มีสถานภาพโสดมีการรับรู้บรรยากาศองค์การสูงกว่าคนที่มีสถานภาพสมรส และกลุ่มที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี มีการรับรู้บรรยากาศองค์การในภาพรวมและบรรยากาศองค์การด้านความรับผิดชอบของบุคลากร สูงกว่ากลุ่มที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี 11-15 ปี 16-20 ปี และ 20 ปีขื้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรที่มีลักษณะ ประชากรด้านเพศ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีการรับรู้บรรยากาศองค์การไม่แตกต่างกัน ยกเวันเพศชายและเพศหญิงที่มีการรับรู้บรรยากาศองค์การด้านโครงสร้างองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และบุคลากรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการรับรู้บรรยากาศองค์การด้านความอบอุ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) บุคลากรที่มีลักษณะหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามด้านกลุ่มภารกิจ ในกลุ่มผู้ปฏิบัติกับกลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มวิชาชีพกับกลุ่มไม่ใช่วิชาชีพ มีการรับรู้บรรยากาศองค์การไม่แตกต่างกันทางสถิติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83134.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons