กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/594
ชื่อเรื่อง: การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The building of political power bases by local politicians : a case study of the municipality and sub-district administrative organizations in Khiri Mat District, Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มงคล เกษประทุม, 2522- 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
เทศบาลตำบล--ไทย
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย
อำนาจ (สังคมศาสตร์)
การปกครองท้องถิ่น--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองส่วนท้องถิ่นในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนก่อนสมัครรับเลือกตั้ง นักการเมืองอุทิศเวลาให้กับงานส่วนรวม งานสังคม หรือช่วยงานตามหมู่บ้าน งานศาสนพิธี เพื่อเป็นการแสวงหาผู้สนับสมุน ขั้นตอนระหว่างการสมัครรับเลือกตั้ง นักการเมืองมีกระบวนการรณรงค์หาเสียงโดยการพูดคุยกันในหมู่ญาดิ พี่ น้อง หรือเพื่อนก่อน แถัวจึงพูดคุยเป็นวงกว้างขึ้น ขั้นตอนระหว่างการดำรงตำแหน่ง นักการเมืองท้องถิ่นใช้อำนาจกำหนดนโยบาย ตลอดจนทบทวน แก้ไขเพิ่มเติมนโยบายต่างๆ พัฒนาท้องถิ่นให้ตรงตามที่ตนหาเสียง และตอบสนองต่อความต้องการของผู้สนับสนุน และขั้นตอนเตรียมความพร้อมในการสมัครรับเลือกตั้งครั้งใหม่ คือการติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือกับผู้สนับสมุนอย่างสมำเสมอ แสวงหาผู้สนับสมุนใหม่จากการออกงานชุมชน หมู่บ้านที่เป็น ส่วนรวมมากขึ้น (2)ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคีรี มาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกออกเป็น 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยบ้านครอบครัว เป็นปัจจัยพื้นฐานของนักการเมือง ท้องถิ่นที่ให้การสนับสมุนจนใด้รับการเลือกตั้ง ปั้จจัยบ้านเครือญาติ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อนักการเมืองบ้ท้องถิ่นรองจากปั้จจัยบ้านครอบครัว ซึ่งหากใด้รับการสนับสมุนจากเครือญาตินักการเมืองจะ ประสบความสำเร็จในการเสือกตั้ง ปัจจัยบ้านเพื่อน เป็นปัจจัยที่ช่วยนักการเมืองลงพื่นที่ ช่วยในการ แสวงหาผู้สนับสมุนใบ้นักการเมืองใด้รับการเลือกตั้ง ปัจจัยบ้านผู้อุปถัมภ์ เป็นทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัย เสริมจากภายนอกที่ช่วยสนับสมุนนักการเมืองให้ประสบความสำเร็จจากบารมีของผู้อุปถัมภ์โดยเฉพาะผู้ อุปถัมภ์เป็น รัฐมนตรี นักการเมืองระดับประเทศ ข้าราชการระดับสูงในจังหวัด ปัจจัยบ้านผู้รับอุปถัมภ์ เป็นปัจจัยที่สนับสมุนนักการเมืองโดยการรักษาฐานคะแนนในพื่นที่ ตามหมู่บ้าน หรือกลุ่มบ้าน และ ปัจจัยบ้านเงินทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสมุนนักการเมืองให้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งและการ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แหล่งที่มาของเงินทุนมาจากครอบครัว หรือผู้ให้การอุปถัมภ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/594
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118809.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons