Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5968
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ : กรณีศึกษาสำนักงานสรรพากร ภาค 6
Other Titles: Factors affecting knowledge management : a case study of Regional Revenue Office 6
Authors: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินรัตน์ สมสืบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรวรรณ วุฒิกลตระกูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มึวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการความรู้ของ สำนักงานสรรพากรภาค 6 (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการความรู้ของสำนักงาน สรรพากรภาค 6 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสรรพากรภาค 6 และหน่วยงาน ในกำกับดูแล จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วยสำนักงานสรรหากรพื้นที่นครปฐม สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สมุทรสาคร สำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรสงคราม สำนักงานสรรพากรพื้นที่ราชบุรี สำนักงานสรรพากร พื้นที่กาญจนบุรี สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบุรี สำนักงานสรรพากรพื้นที่สุพรรณบุรี และ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ รวมจำนวน 303 คน เครื่องมีอที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใด้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยค่าทดสอบที และ ทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการความรู้ของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อ พิจารณาระดับการปฐบัติการจัดการความรู้ขององค์กร ทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) การค้นหาความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การ เข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 7) การเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง (2) การทคสอบ สมมุติฐานเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการความรู้ที่มีเพศ และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกัน มี ความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีการเรียนรู้ มากกว่า เพศหญิง ส่วนตำแหน่งงาน พบว่า ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สรรพากร นักวิชาการสรรพากร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนักวิชาการภาษี มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้มากกว่า ตำแหน่ง นิดิกรและตำแหน่งงานอื่น ๆ และด้านการเรียนรู้ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สรรพากรและตำแหน่ง นักวิชาการสรรพากร มีการเรียนรู้น้อยกว่าตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนักวิชาการภาษึ ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5968
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108692.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons