Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/596
Title: | การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานพยาบาลในจังหวัดน่านประจำปีงบประมาณ 2546 |
Other Titles: | Unit cost of hospital and related network service in Nan province the fiscal year 2003 |
Authors: | เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ กานดา ยุบล, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สถานพยาบาล--ไทย--น่าน--ค่าใช้จ่าย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานพยาบาลในจังหวัดน่านนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานพยาบาลในจังหวัดน่านประจำปีงบประมาณ 2546 โดยเป็นวิธีการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการแบบวิธีลัด จากข้อมูลรายงานการเงินการคลังและรายงานกิจกรรมสำคัญตามแบบรายงาน 0110 รง. 5 ของโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดน่าน จำนวน 13 แห่ง และสถานีอนามัยจำนวน 147 แห่ง ผลการศึกษาพบว่ารายจ่ายทุกหมวดรายการยกเว้นงบลงทุน ของโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดน่าน มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่าโรงพยาบาลในระดับเดียวกันของเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 9 และระดับประเทศ โดยโรงพยาบาลในจังหวัดน่านมีค่าใช้จ่าย จำนวน 396.80 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในระดับประเทศ ร้อยละ 9.85 (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยระดับประเทศ 357.72 ล้านบาท) และสูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในระดับเขต 9 ร้อยละ 0.56 (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเขต 9 เท่ากับ 394.58 ล้านบาท) ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยในพบว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลในจังหวัดน่านเท่ากับ 5,675.94 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศร้อยละ 11.70 (ค่าเฉลี่ยรายจ่ายต้นทุนผู้ป่วยในต่อหน่วยบริการระดับประเทศ 5,011.83 บาท) และมีค่าเฉลี่ยรายจ่ายรวมต่อหน่วยบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับเขต 9 ร้อยละ 1.83 (ค่าเฉลี่ยรายจ่ายต้นทุนผู้ป่วยในต่อหน่วยบริการเขต 9 เท่ากับ 5,571.91 บาท) เมื่อพิจารณาต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอก ของสถานีอนามัยในเครือข่ายโรงพยาบาลทุกแห่งจังหวัดน่านกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศและเขต 9 พบว่าต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานีอนามัยจำนวน 5 เครือข่าย มีต้นทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานีอนามัยในระดับประเทศเท่ากับ 109.58 บาท) และพบว่ามีสถานีอนามัย 3 แห่ง ที่มีต้นทุนต่อหน่วยบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับเขต 9 (ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานีอนามัยในระดับเขต 9 เท่ากับ 124.67 บาท) ค่าต้นทุนต่อหน่วยบริการของการศึกษาในครั้งนี้จะมีค่าสูงกว่าค่าที่ใช้ในการคิดงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแม้ว่าข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเหมือนกันคือรายงาน 0110 รง.5 ทั้งนี้ เหตุผลประการหนึ่งอาจเนื่องมาจากว่า การศึกษาในครั้งนี้ นำสัดส่วนต้นทุนผู้ป่วยในและผู้ปวยนอกสัดส่วนใหม่มาใช้ในการคำนวณหาต้นทุนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ซึ่งมีค่าแตกต่างไปจากสัดส่วนเดิม จึงมีผลทำให้ค่าต้นทุนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ได้แตกต่างไปจากการศึกษางบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการศึกษาในจังหวัดหนองบัวลำภู |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/596 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License