กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5974
ชื่อเรื่อง: | การประเมินโครงการทางด่วนพนักงานธนาคารออมสิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of government Saving Bank's fast track project |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมพงศ์ มึสมนัย พัชรี ปะนันโต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรสิทธิ์ รุ่งเรืองศิลป์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ โครงการทางด่วนพนักงานธนาคารออมสิน--การประเมิน โครงการ--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำโครงการทางด่วนพนักงานธนาคารออมสินมาใช้ในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับหัวหน้างาน (ผู้บริหาร) ของธนาคารออมสิน (2) ศึกษาประสิทธิผลการนำโครงการทางด่วนพนักงานธนาคารออมสินมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของธนาคารออมสิน และ (3) เพื่อนำเสนอถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข การนำโครงการทางส่วนพนักงานธนาคารออมสิน ที่นำมาใช้ในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับหัวหนัางาน (ผู้บริหาร) การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจาก พนักงานของธนาคารออมสินจำนวน 662 คน กสุ่มตัวอย่าง จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ได้สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความ ตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นได้ 0.7892 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ช้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรงาน การทดสอบท การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดย วิธีผลต่างนัยสำคัญ (แอลเอสดี) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ในระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการนำโครงการทางด่วนพนักงานธนาคาร ออมสินมาใช้ในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับหัวหน้างาน (ผู้บริหาร) ของธนาคารออมสินประสบผลสำเร็จในระดับปานกลาง (2) กสุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการนำโครงการทางด่วนพนักงานเข้ามาใช้ในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับหัวหน้างาน (บริหาร) เกิดประสิทธิผลต่อการบริหารงานบุคคลของธนาคารในระดับปานกลางในทุกด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยในการดำเนิน การของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลที่เกิดขึ้นของโครงการ (3) ปัญหาและอุปสรรคการนำโครงการทางด่วนพนักงานธนาคารออมสินมาใช้ในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับหัวหน้างาน (ผู้บริหาร) ของธนาคารออมสิน ได้แก่ การขาดการวางแผนในการดำเนินโครงการ การขาดกำหนดตำแหน่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหาและคัดเลือก และไม่มีเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานภายหลังการเข้าสู่ตำแหน่งของพนักงานในโครงการ ชื่งควรแก้ไขโดยทำการวางแผนดำเนินโครงการ ทำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหา คัดเลือก และการประเมินผลที่ชัดเจน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5974 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108703.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License