กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5975
ชื่อเรื่อง: ผลของการปรับรูปแปลงนาของเกษตรกร ตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of paddy field modification of farmer at Jigtaeng Sub-district, Tan Sum District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรรยา สิงห์คา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินธิพงษ์ เพียรงูเหลือม, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: นา--ไทย--อุบลราชธานี
การใช้ที่ดินในชนบท--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ศึกษาผลของการปรับรูปแปลงนาในพื้นที่นาข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการปรับรูปแปลงนา ที่มีสร้างคันนาขึ้นใหม่ โดยให้มีขนาดกว้างและสูงกว่าเดิม (3) ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหลังการปรับรูปแปลงนา และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับรูปแปลงนา ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน อาชีพหลักคือทานา (2) เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการปรับขนาดพื้นที่นามีความเหมาะสมต่อการนำเครื่องจักรเข้าทำงานในแปลงนา เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับมากในด้านการเก็บกักน้ำในนาข้าว ทำให้วัชพืชในนาข้าวลดลง เพิ่มผลผลิตข้าว และการใส่ปุ๋ยง่ายขึ้น เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางด้านการใช้ประโยชน์บนคันนา นอกจากนี้เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากด้านการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิตข้าว (3) ต้นทุนและกาไร หลังมีการปรับรูปแปลงนาในปีการผลิต 2559/60 พบว่า มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,255 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนคงที่ 25 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปร 2,230 บาทต่อไร่ และกำไรเท่ากับ 722.50 บาทต่อไร่ (4) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมน้อย เกี่ยวกับการสูญเสียหน้าดินและสิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลายไปจากการปรับรูปแปลงนา ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ควรมีการปรับ รูปแปลงนาร่วมกับการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอกที่เกษตรกรหาได้ง่ายตามท้องถิ่น และการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154682.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons