กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5978
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to integrated pest management of rice production by farmers in Laembua Sub-district, Nakhon Chaise District, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา พลายสา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ศัตรูพืช--การควบคุม
ศัตรูพืช
ยากำจัดศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช
ข้าว--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) ความเป็นประโยชน์และความยุ่งยากของการจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน (4) การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร และ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54.04 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.38 คน ได้รับข่าวสารจากสื่อบุคคลเฉลี่ย 9.17 ครั้ง/ปี และจากสื่อสิ่งพิมพ์เฉลี่ย 6.94 ครั้ง/ปี ได้รับประสบการณ์การผ่านการฝึกอบรมเฉลี่ย 6.02 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 10.31 ครั้ง/ปี มีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 296,464.96 บาท มีขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 22.83 ไร่ และ มีจำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.42 คน (2) เกษตรกรมีระดับความรู้ในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวอยู่ในระดับมาก (3) ความเป็นประโยชน์ของการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับมากที่สุดและความยุ่งยากในการปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับน้อยที่สุด (4) เกษตรกรมีระดับปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าว เฉลี่ย 21.75 ข้อ (5) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าว อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ความรู้ของเกษตรกร ความเป็นประโยชน์ของการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ประสบการณ์การผ่านการฝึกอบรม และขนาดของพื้นที่การถือครองทางการเกษตร (6) ภาพรวมปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เกษตรกรได้เสนอแนะให้มีการวางแผนแนวทางการส่งเสริมการให้ความรู้อย่างเหมาะสมทันต่อสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชและมีการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานอยู่เสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5978
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155136.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons