กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5983
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Maize seed buying behavior of farmers in Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิกร จรชื่น, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ข้าวโพด--ไทย--เมล็ดพันธุ์.
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--พิษณุโลก
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกและการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และลักษณะประจำพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการ (3) พฤติกรรมการซื้อเมล็ดพันธุ์ 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อเมล็ดพันธุ์ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเมล็ดพันธุ์ และ 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการซื้อและการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกเฉลี่ย 18 ปี และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก 2) ที่ดินที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 14 ไร่ และปลูกโดยใช้เครื่องปลูก ปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 3.50 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 753.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายผลผลิตที่กะเทาะเมล็ดเฉลี่ย 5.69 บาทต่อกิโลกรัม ลักษณะประจาพันธุ์ที่ต้องการมากที่สุดคือ ผลผลิตต่อไร่สูง 3) เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมากที่สุดเป็นของบริษัท ซินเจนทา ซีดส์ จำกัด การซื้อพิจารณาจากคุณภาพเป็นหลัก ปริมาณการซื้อเฉลี่ย 46.90 กิโลกรัม ระยะเวลาการซื้อก่อนปลูกน้อยกว่า 7 วัน แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่มาจากป้ายโฆษณา ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคือตนเอง แหล่งที่ซื้อคือร้านค้าปัจจัยการผลิต และซื้อด้วยเงินสด 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก ส่วนด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การปลูก และการจาหน่ายผลผลิตมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทั้งนี้เกษตรกรจะคำนึงถึงสภาพพื้นที่ปลูกและวิธีการเก็บเกี่ยวก่อนการเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสม 6) ปัญหาที่เกษตรกรพบส่วนใหญ่คือ เมล็ดพันธุ์มีราคาสูง และขนาดบรรจุภัณฑ์ที่ให้เลือกซื้อมีน้อย ซึ่งข้อเสนอแนะคือเมล็ดพันธุ์ควรมีราคาที่ถูกลง และมีความหลากหลายของขนาดบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5983
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155141.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons