กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5994
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developmental for the agricultural learning center in Pa Sang District, Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นันทริยา สุวรรณล้อม, 2521-
คำสำคัญ: ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
สินค้าเกษตร--ไทย
สินค้าเกษตร--ไทย--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร (3) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตลำไย (4) ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบ และความต้องการกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน ศพก. (5) กระบวนการดำเนินงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ปัญหา และจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของ ศพก. ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิก ศพก. และผู้ใช้บริการ ศพก. ร้อยละ 55.0 และ 51.9 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.23และ 50.88 ปี ร้อยละ 60.0 และ 67.31 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.85 และ 3.53 คน ร้อยละ 85.0 และ 66.3 เป็นสมาชิกสถาบันอื่น ร้อยละ77.5 และ 31.7 ไม่มีสถานะทางสังคม แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.98 และ2.17 คน ร้อยละ 47.5 และ 39.42 ไม่มีแรงงานจ้าง ร้อยละ 75.0 และ 76.0 มีการกู้ยืม ร้อยละ 42.5 และ 51.0 ประกอบอาชีพหลักคือทำการเกษตร มีที่ดินทำสวนลำไย เฉลี่ย 4.01 และ 3.79 ไร่ ร้อยละ 80.0 และ 83.6 ไม่มีพื้นที่เช่า 2) มีประสบการณ์ทำสวนลำไย เฉลี่ย 10.85 และ 11.84 ปี ลำไยมีอายุเฉลี่ย 14.75 และ 14.52 ปี ร้อยละ 90.0 และ 39.4 มีบ่อบาดาลนํ้าตื้นส่วนตัว มีผลผลิตลำไยเฉลี่ย 1,403.75 และ 1,704.13 กก./ไร่ ร้อยละ 87.5 และ 83.7 จำหน่ายลำไยให้พ่อค้าคนกลาง ร้อยละ 62.5 และ 21.2 เคยประสบภัยแล้ง 3) แหล่งการรับรู้จากบุคคล คะแนนเฉลี่ย 2.93 และ 2.99 แหล่งการรับรู้จากกลุ่ม คะแนนเฉลี่ย 3.09 และ 3.37 แหล่งการรับรู้จากมวลชน คะแนนเฉลี่ย 2.68 และ 2.88 4) ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบของ ศพก.ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 4.16และ 3.65 ความต้องการกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติม คะแนนเฉลี่ย 3.5 และ 3.38 ความต้องการการร่วมหุ้น คะแนนเฉลี่ย 3.35 และ 3.11 ความต้องการการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน คะแนนเฉลี่ย 3.40 และ 3.07 ความต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต คะแนนเฉลี่ย 4.13 และ 4.29 ความต้องการการได้รับความช่วยเหลือตามโครงการต่างๆ เป็นอันดับแรก คะแนนเฉลี่ย 4.15 และ 4.32 5) ศพก. มีกระบวนการดำเนินงานประกอบด้วย กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการให้บริการ และการบูรณาการการทำงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ได้แก่ ความรู้ ความเชี่ยวชาญของเจ้าของ ศพก. แปลงเรียนรู้ที่สามารถใช้ในการสาธิตได้อย่างแท้จริง หลักสูตรการเรียนรู้สามารถตอบโจทย์และประเด็นปัญหาในชุมชนได้ ฐานเรียนรู้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามนวัตกรรมใหม่ๆ การให้ความสำคัญ เข้าร่วมกิจกรรมของกรรมการ ศพก. และสมาชิก การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรส่วนท้องถิ่น การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและนโยบายที่ต่อเนื่อง จุดแข็ง คือ เจ้าของ ศพก. มีความขยัน ใฝ่รู้ ศพก. อยู่ในชุมชนเข้าถึงง่าย จุดอ่อน คือ ทางเข้าแคบ ที่จอดรถไม่พอ โอกาส คือ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีและงบประมาณในการปรับปรุง ศพก. อุปสรรค คือ ขาดการบูรณาการระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาคี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5994
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156686.pdfเอกสาณฉบับเต็ม3.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons