กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5997
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for developing agricultural extension services of Ban Kham Tambon Administration Organization in Chatturat District, Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายสุดา สุขมาก, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้รับบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตร 2) การบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตร 3) แนวทางและวิธีการพัฒนาการบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยที่ 46.72 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.5 ม.6 , ปวช.) สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.06 คน เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยกว่า 50 ไร่ เฉลี่ยอยู่ที่ 29.15 ไร่ ส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเอง แรงงานด้านเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 3.29 คน รายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 173,357.52 บาทต่อปี ที่มาของรายได้มาจากการขายผลผลิตทางการเกษตร เฉลี่ย 129,042.68 บาทต่อปี พืชหลัก คือ ข้าวและข้าวโพด ต้นทุนการทำการเกษตรเฉลี่ย 2,937.25 บาทต่อไร่ แหล่งเงินทุนมาจากการกู้ยืม ธกส. การรับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรมาจากผู้นำชุมชน/หอกระจายข่าว ช่วงเวลาที่มาติดต่อหรือรับบริการมากที่สุด คือ เวลา 08.30 – 12.00 น. 2) การบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตร ในภาพรวม 2.1) การรับบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตรในทุกกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 1.73 2.2) ความพึงพอใจในการรับบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตร พบว่า อยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 3.42 3) แนวทางและวิธีการพัฒนาการบริการด้านงานส่งเสริมการเกษตร พบว่า เกษตรกรต้องการให้มีการสำรวจข้อมูลทางการเกษตรในด้านต่างๆเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการช่วยเหลือเกษตรกร ควรมีการประสานงานการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลระหว่างเกษตรกรและหน่วยงานท้องถิ่น มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางการเกษตร มีการส่งเสริมการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวางแผนดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการดำเนินงานช่วยเหลือป้องกันศัตรูธรรมชาติ มีการวางแผนในการดำเนินงานและการจัดการด้านการฝึกอบรม/การรวมกลุ่มและการพัฒนากลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5997
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159326.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons