Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/600
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอตะกั่วของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากกะลามะพร้าว
Other Titles: The comparison of lead vapour reduction efficiency using activated carbon gained from coconut shell
Authors: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
กิตติธร คุปตาภิวัฒน์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ถ่านกัมมันต์
ตะกั่ว
กะลามะพร้าว--การใช้ประโยชน์
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอตะกั่ว หาขนาดแผ่นกรองที่เหมาะสม หาจุดอิ่มตัวของการดูดซับ และศึกษาความเป็นไปไต้ในการทำแผ่นกรองไอตะกั่วในเชิงพาณิชย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยนำเอาวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่ กะลามะพร้าว ชนิดมะพร้าวห้าวและมะพร้าวกะทิ ไปเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อทำการปลุกฤทธิ์เป็นถ่านกัมมันต์ และใช้แบบจำลอง สำหรับผลิตมลพิษชนิดไอตะกั่ว แล้วทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอตะกั่วที่ความหนาของชั้นกรอง 2.5 ซม. 2.0 ซม. 1.5 ชม. และ 1.0 ซม. ตามลำดับจากนั้นทดลองหาจุดอิ่มตัวของชั้นกรอง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ โดยคิดในรูปของการลดค่าความเข้มข้นของไอตะกั่ว และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเข้มข้นของไอตะกั่วที่ได้จากแบบจำลองมีคำคงที่ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.550 ug. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอตะกั่วด้วยชั้นกรองพบว่า ถ่านกัมมันต์ที่ได้จากกะลามะพร้าวห้าวมีประสิทธิภาพดีกว่าถ่านกัมมันต์ที่ได้จากกะลามะพร้าวกะทิ คิดเป็นร้อยละ 1.63 จากการทดลองหาขนาดของชั้นกรองพบว่า ชั้นกรองที่มีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นดีที่สุดคือ 2.5 ซม. โดยมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นร้อยละ 58.9 รองลงมาก็คือชั้นกรองที่มีความหนา 2.0 ซม. มีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นร้อยละ 56.2 ชั้นกรองที่มีความหนา 1.5 ซม. มีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นร้อยละ 52.1 และชั้นกรองที่มีความหนา 1.0 ซม. มีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นร้อยละ 45.4 ตามลำดับ ในส่วนของการหาจุดอิ่มตัว พบว่า ณ ชั่วโมงที่ 1 ชั้นกรองที่มีความหนา 2.5 ซม. มีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอตะกั่วเท่ากับร้อยละ 42.9 ชั่วโมงที่ 2 เท่ากับร้อยละ 46.0 ชั่วโมงที่ 3 เท่ากับร้อยละ 41.2 ชั่วโมงที่ 4 เท่ากับร้อยละ 36.7 ชั่วโมงที่ 5 เท่ากับร้อยละ 39.8 ชั่วโมงที่ 6 เท่ากับร้อยละ 35.1 ชั่วโมงที่ 7 เท่ากับร้อยละ 33.6 ชั่วโมงที่ 8 เท่ากับร้อยละ 36.7 และชั่วโมงที่ 9 เท่ากับร้อยละ 24.3 ทั้งนี้ ณ ชั่วโมงที่ 8 และชั่วโมงที่ 9 พบว่ามีความแตกต่างกันมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/600
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
84173.pdfเอกสารฉบับเต็ม3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons