กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6030
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนด้วยระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลากร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis on management administration regarding people services with the import and export custom[s] formality of electronic paperless system of the customs department |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ สุวนี จรูญโรจน์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ กรมศุลกากร--การบริหาร การบริหารคุณภาพโดยรวมในภาครัฐ การบริหารรัฐกิจ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนด้วยระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากร (2) ปัญหาการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนด้วยระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากร และ (3) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนด้วยระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากร โดยนำ 11M มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้การศึกษานี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหาค่าความเที่ยงตรงและความเชี่อถือได้ของแบบสอบถามทีระดับ 0-9286 สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือข้าราชการกรมศุลกากร 1,413 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลสนาม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนมาได้ 1,250 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.46 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนด้วยระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากรอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัญหาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลช่าวสารของข้าราชการที่ปฏิบัติงานให้บริการประชาชนด้วยระบบไร้เอกสารไม่สะดวก สำหรับ (3) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ ผู้บริหารทุกระดับของกรมศุลกากรควรจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัย และควรจัดการฝืกอบรมข้าราชการเพื่อเพื่มประสิทธิกาพในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6030 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
109960.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License