กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/604
ชื่อเรื่อง: อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power of the election commission regarding the decision on re-election and revocation of election rights
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
วิฑูรย์ วงษ์ปัญญา, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สิริพันธ์ พลรบ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการการเลือกตั้ง--การบริหาร
การเลือกตั้ง--การทุจริต
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในการเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งกรณีที่มีการดำเนินคดีอาญา ทั้งปัญหาในการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 239 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปัญหาการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองโดยศาล รัฐธรรมนูญตามมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยศึกษาการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และสอดคล้องกับหลักกฎหมายไทยที่มีอยู่ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารจากการค้นคว้า และรวบรวมหนังสือ ตำรา เอกสาร บทความทางวิชาการ รายงานการประชุม คำสั่งและคำวินิจฉัยของศาล เกี่ยวกับอำนาจในการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และองค์กร ตุลาการของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐอินเดีย ผลการวิจัยพบว่าการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรณีที่มีการดำเนินคดีอาญามีลักษณะเป็นโทษอุปกรณ์ ของการกระทำความผิดอาญา เมื่อศาลมีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จึงควรมีอำนาจใน การสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วย ซึ่งในปัจจุบันศาลยังคงมีอำนาจดังกล่าว จึงมีความเหมาะสมและเป็นธรรม แล้ว ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 239 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น มิใช่โทษอุปกรณ์ของการกระทำความผิดอาญา การที่คณะกรรมการ การเลือกตั้ง และศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ใช้หลักการวินิจฉัยต่างกัน จึงไม่่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม ควรแก้ไข กฎหมายให้เป็นอำนาจขององค์กรตุลาการเพียงฝ่ายเดียว เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศที่มีการเลือกตั้งเหมือนกับประเทศไทย นอกจากนี้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิใช่โทษอุปกรณ์ของการกระทำ ความผิดอาญาและเห็นว่าไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน ควรยกเลิกบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/604
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib128201.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons