กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6090
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวนในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships of self-esteem and job satisfaction with adversity quotient of non-commissioned officers in the Royal Thai Naval Air and Coastal Defense Command
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงศ์ พุ่มงาม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ความนับถือตนเอง
การแก้ปัญหา
ทหารชั้นประทวน--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวนในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (2) ศึกษาปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานกับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวน และ (4) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้น ประทวน จากปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนายทหารชั้นประทวนในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน 356 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัว อย่างโดยใช้วิธีของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการเลือกแบบเทียบอัตราส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวนในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขัอมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่พบ (1) นายทหารชั้นประทวนในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) นายทหารชั้นประทวนมีการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ กับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนายทหารชั้นประทวน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ปัจจัยด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงานสามารถพยากรณ์ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุป สรรคของนายทหารชั้นประทวนได้้ร้อยละ 46.8 โดยสามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ ดงันี้ Y’ = 1.52 + .29X1 + .30X2 Z’ = .37ZX1 + .36ZX2
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6090
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_156037.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons