Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6094
Title: การพัฒนาชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40
Other Titles: Development of a set of mathematical process skills tests for Mathayom Suksa III students in Schools under the Secondary Education Service Area Office 40
Authors: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร บัวทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประนอม บัวแก้ว, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ทักษะการเรียน--คณิตศาสตร์
การวัดความถนัดทางการเรียน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนกังานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่พัฒนาในการวิจัย ได้แก่ ชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของชุดแบบวัด โดยการหาความยาก อำนาจจำแนก ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การพัฒนาชุดแบบวัดทักษกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1 ชุด แบ่งเป็น 5 ฉบับ ดรั้งนี้ ฉบับที่ 1- ฉบับที่ 4 เป็นแบบวัด แบบเลือกตอบ 4 ตัว เลือก ฉบับละ 10 ข้อ ฉบับที่ 1 วัดความสามารถในการแกปัญหาทางคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 2 วัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 3 วัดความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ ฉบับที่ 4 วัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ฉบับที่ 5 เป็นแบบวัดแบบเขียนตอบ 4 ข้อ วัดความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ (2) ชุดแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 - 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ .43 - .80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .33 - .93 มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าความเที่ยงของแบบวัด ฉบับที่ 1- ฉบับที่ 5 เท่ากับ .84, .72, .74, .82 และ .90 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6094
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_156519.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons