กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6148
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a proficiency test on analytical thinking skill in the Science Learning Area for Prathom Suksa VI students in Surat Thani Primary Education Service Area 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญศรี พรหมมาพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลาวัลย์ รักสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กานต์รวี แซ่หว่อง, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--สุราษฎร์ธานี
ความคิดและการคิด--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 379 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความตรง ค่าความเที่ยง ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ความสัมพันธ์ และหลักการ และ (2) แบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.27 - 0.73 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.32 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แบบวัดความสามารถมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6148
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_156767.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons