กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/616
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factor and latent profile analyses of student engagement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรพิชชา เวชวิริยกุล ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ศิริปรียา ใจบุญมา สุธนิต เวชโช สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร |
คำสำคัญ: | ความผูกพันต่อองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), หน้า 83-97 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในประเทศไทย และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดที่สร้างขึ้นภายหลังจากการศึกษาองค์ประกอบ และ 2) วิเคราะห์กลุ่มโปรไฟล์ตามระดับความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากโครงการวิจัยและปฏิบัติการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง ผ่านแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแอลฟาของครอนบาค ค่าอำนาจจำแนก และการวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบเช่นเดียวกันทั้งผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับครูและโรงเรียน ด้านพฤติกรรม ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว 2) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงระดับชั้นประถมศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ .82 และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง .50 ถึง .74 ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาเท่ากับ .82 และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง 54 ถึง .77 3) ผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกระดับชั้นประถมศึกษามีค่าดัชนีอำนาจจำแนกเฉลี่ยเท่ากับ .41 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง .31 ถึง .47 ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษามีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยเท่ากับ .42 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง .32 ถึง .49 และ 4) กลุ่มโปรไฟล์ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาประกอบด้วย 3 กลุ่มเช่นเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มที่มีระดับความยึดมั่นผูกพันสูงกว่าค่าเฉลี่ย กลุ่มที่อยู่ในระดับค่าเฉลี่ย และกลุ่มที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/616 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License