กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6170
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคีของเกษตรกรราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organic rice production in the communal consumption system of Rajchathani Asok Farmer Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฝั่งบุญ ชาวหินฟ้า, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--เกษตรอินทรีย์--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานชาวนาในระบบสาธารณโภคี 2) การจัดการการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี 3) ผลที่เกิดจากการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี และ 4) ปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี การวิจัยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มชาวนาคำยอด จำนวน 4 คน และกลุ่มโคกหนองนา จำนวน 4 คน ซึ่งเป็นสมาชิกเกษตรกรราชธานีอโศก เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มชาวนาทั้งหมด เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพพื้นฐานของชาวนาในระบบสาธารณโภคี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา มีประสบการณ์ทำนาจากบรรพบุรุษ และสื่อต่าง ๆ มีพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ เป็นแรงบันดาลใจ 2) การจัดการการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี เป็นการผลิตแบบอินทรีย์ มีการวางแผนการผลิต ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยพืชสดร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ ปลูกโดยการหว่านและการดำ ใช้น้ำหมักชีวภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การป้องกันสารปนเปื้อนในน้ำจากภายนอก โดยทำคลองระบายน้ำ ใช้น้ำฝน การเก็บเกี่ยวด้วยมือและเครื่องจักร ผลผลิตนำไปเก็บไว้เพื่อบริโภค ฟางข้าวนำไปคลุมแปลงผักสวนครัว และตอซังไถกลบเพื่อบำรุงดิน 3) ผลที่เกิดจากการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี (1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ลดต้นทุนการผลิต ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (2) ด้านสังคม ได้เข้าถึงการมีส่วนร่วม ระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน หมายถึง การมีความสัมพันธ์ มีการแบ่งปัน ทั้งผลผลิต และองค์ความรู้ต่าง ๆ ต่อสังคม (3) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้คืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืน และ 4) ปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ในระบบสาธารณโภคี ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจในระบบสาธารณโภคี ได้แก่ การพึ่งพาตัวเอง ผลิตเพื่อบริโภค ไม่เป็นหนี้ มีเหลือแล้วจึงจุนเจือสังคม และสาธารณะ (2) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความเกื้อกูลกันของคน นโยบายการบริหาร และคุณธรรมของชาวอโศก และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ (3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ดิน ศัตรูข้าว และน้ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6170
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons