กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/617
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้การประเมินที่ขับเคลื่อนด้วยทฤษฎีในการพัฒนาและประเมินโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of theory-driven evaluation approach for development and evaluation the student’s democratic personality development project in schools under the office of basic education commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประลอง ครุฑน้อย สังวรณ์ งัดกระโทก สมคิด พรมจุ้ย สุพักตร์ พิบูลย์ |
คำสำคัญ: | ประชาธิปไตย -- การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), หน้า 98-113 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างทฤษฎีโปรแกรมในการพัฒนาวิธีการประเมินและประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 38 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างทฤษฎีโปรแกรม ระยะที่ 2 พัฒนาวิธีการประเมิน ระยะที่ 3 ประเมินผลโครงการ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 41 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบ 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม 3) แบบประเมินตนเองของนักเรียน 4) แบบประเมินบุคลิกภาพประชาธิปไตยนักเรียนของครูประจำชั้น 5) แบบสอบถามความตระหนัก/จิตสำนึกของนักเรียนที่ทำให้นักเรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย และ 6) แบบประเมินโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ทฤษฎีโปรแกรม ประกอบด้วย โมเดลการกระทำ ได้กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยเป็นตัวแทรกแซง และโมเดลการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ตัวแทรกแซง ที่ได้จากโมเดลการกระทำ ซึ่งมีความตระหนัก/จิตสำนึก เป็นตัวกำหนดเชื่อมโยงระหว่างตัวแทรกแซงกับผลลัพธ์ 2) ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลประเมินโครงการ พบว่า นักเรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีความตระหนัก/จิตสำนึกที่ทำให้นักเรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดโครงการนี้ เพราะนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนักเรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/617 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License