Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6296
Title: | ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้าสวนอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี |
Other Titles: | Factors of personality and job satisfaction affecting organizational commitment of customer service employees in Industrial Park 304, Prachinburi Province |
Authors: | วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา ณิชารีย์ ปุรณะ, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์ ความผูกพันต่อองค์การ ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้าสวนอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี 2) เปรียบเทียบระดับความผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ด้านบุคลิกภาพ และความพึงพอใจในงานกับความผูกพันต่อองค์การ และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้า จากปัจจียด้านบุคลิกภาพ และความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานบริการลูกค้าสวนอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี จำนวน 200 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอยา่งโดยวิธีของยามาเน่ และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น ตอนที่1 แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถามบุคลิกภาพ ตอนที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน และตอนที่ 4 แบบสอบถามความความผูกพันต่อองค์การ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงทั้ง ฉบับ เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพีนธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานบริการลูกค้า ที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานบริการลูกค้า ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานต่างกัน มีความผูกพัน ต่อองค์การไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานบริการลูกค้า อย่างมีนัยสคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ตัวแปรด้านความพึงพอใจในงานสามารถพยากรณ์ความผูกพัน ต่อองค์การได้ร้อยละ 31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6296 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_158640.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License