กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/632
ชื่อเรื่อง: บทบาทของเจ้าอาวาสในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of the abbots in promotion of non-formal education activities : a case study of Phetchaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเลิศ ส่องสว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมประสงค์ วิทยเกียรติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทองปลิว ชมชื่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระไพฑูรย์ ศรีบุรินทร์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ --วิทยานิพนธ์
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย
สงฆ์กับการพัฒนาชุมชน
วัดกับการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของเข้าอาวาสในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบทั้ง 3 ด้าน คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การให้ข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาทักษะอาชีพ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของเจ้าอาวาสในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบกับตัวแปรต่อไปนี้คือ ที่ตั้งและรายได้ของวัด จำนวนพระภิกษุในวัด จำนวนพรรษาที่บวช ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากเจ้าอาวาสระดับการศึกษาสายสามัญและทางพระพุทธศาสนา การได้รับอบรมพระธรรมฑูตและ/หรือการศึกษานอกระบบ และการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกับ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเจ้าอาวาสที่มีต่อกิจกรรมการศึกษานอกระบบกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือเจ้าอาวาสในจังหวัดเพชรบุรี 144 รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.795 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ แบบฟีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1)เจ้าอาวาสในจังหวัดเพชรบุรีสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรม การศึกษานอกระบบ ทั้งสามด้านมากที่สุดในเรื่อง การจัดการศึกษาแผนกธรรม การเผยแพร่ความI ทางด้านสุขภาพอนามัย การแนะแนวและการฝึกอบรมศิลปะและพระภิกษุสามเณรและประชาชน (2) ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์มากต่อการส่งเสริมการศึกษานอกระบบของเข้าอาวาสมี 4 ตัวแปรจากทั้งหมด 11 ตัวแปร คือ สถานที่ตั้งวัด ประเภทของวัด วุฒิทางนักธรรมและจำนวน ภิกษุในแต่ละวัดและ 63 ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการส่งเสริมกิจกรรม การศึกษานอกระบบ ของเข้าอาวาสวัดคือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการดำเนินงาน ขาดงบประมาณและอุปกรณ์ตลอดจน ขาดงบประมาณและอุปกรณ์ในการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียด: วิทยานิพธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/632
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83154.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons